วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Benchmark project 2061
The Scientific Worldview
เมื่อจบ เกรด 12 แล้วนักเรียนควรจะรู้
1. วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานของการคาดการล่วงหน้าในระบบที่กว้างใหญ่ของจักรวาล กฏพื้นฐานคือทุกสิ่งที่คล้ายกันซึ่งเหตุการณ์ในจักรวาลเกิดขึ้นโดยไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เข้าใจได้โดยตลอดและศึกษาอย่างมีระบบ
2. บางครั้งบางคราว การเปลี่ยนหลักของวิทยาศาสตร์ จะแสดงว่าสิ่งนั้นทำงานอย่างไร อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ความรู้ในวิทยาศาสตร์เปลี่ยนเพียงเล็กน้อยจากความรู้เดิม การเปลี่ยนแปลงนั้นแสดงให้เห็นลักษณะที่ชัดเจนของวิทยาศาสตร์
3. ไม่มีข้อมูลว่าทฤษฎีมีความเหมาะสมอย่างไร ทฤษฎีใหม่อาจจะเหมาะสมหรือดีกว่าเดิม หรืออาจจะเหมาะกับขอบเขตที่กว้างในการสังเกต
4. ในวิทยาศาสตร์ การทดสอบ แก้ไขปรับปรุง หรือการยกเลิกทฤษฎี ทั้งใหม่และเก่าไม่มีวันจบ กระบวนการดำเนินไปเรื่อยๆ นำไปสู่การเข้าใจที่ดีกว่า ว่าสิ่งนั้นทำงานอย่างไรในโลก แต่ก็ไม่สมบูรณ์อย่างแท้จริง
5. ข้อมูลต่างๆสามารถสืบได้ในทางวิทยาศาสตร์ หลักฐานที่เข้าถึงคุณค่าของวิทยาศาสตร์ ทำให้ดีขึ้นโดยความสามารถของนักวิทยาศาสตร์ โดยเสนอความจริง อธิบายและทำนายอย่างถูกต้อง


Scientific Inquiry
เมื่อจบ เกรด 12 แล้วนักเรียนควรจะรู้
1. การสืบสวนด้วยเหตุผลที่ต่างกัน รวมทั้งการสำรวจปรากฏการเพื่อตรวจสอบเหตุผลครั้งก่อน เพื่อทดสอบทฤษฎีนั้นทำนายอย่างไร และนำไปเปรียบเทียบกับทฤษฎีอื่น
2. สมมติฐานกว้างๆในวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้เลือกข้อมูลต่างๆและรวมทั้งข้อมูลที่ค้นพบเพิ่มเติม และนำไปสู่การแปลความหมายของข้อมูล (ทั้งข้อมูลใหม่และข้อมูลเดิม)
3. บางครั้งนักวิทยาศาสตร์ต้องควบคุมเงื่อนไขเพื่อให้ได้ผลที่ชัด เมื่อเป็นไปไม่ได้ ให้ฝึก และมีจรรยา พยายามสังเกตขอบเขตที่กว้างของธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นและเป็นไปได้ เพื่อเป็นรูปแบบที่ชัดเจน
4. มีความแตกต่างกันในวิทยาศาสตร์ที่จะพิสูจน์อย่างไร แต่ก็แบ่งความคิดกันโดยใช้การโต้เถียงที่มีเหตุผลโดยมีหลักฐานที่ชัดเจน
5. กลุ่มวิจัยของนักวิทยาศาสตร์นำไปสู่สิ่งที่คล้ายกัน แต่อาจจะมีความยุ่งยากเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายในวิธีการและการค้นพบ ด้วยเหตุผลนี้นักวิทยาศาสตร์คาดหวังที่จะค้นหาข้อมูลที่เป็นไปได้ เพื่อที่จะออกแบบการค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลตรวจสอบแต่ละเหตุผลเพื่อช่วยในการอธิบาย แต่ไม่รับประกันว่าจะไม่ลำเอียง
6. ในการทำงานสั้นๆ ความคิดของนักวิทยาศาสตร์จะไม่ดีพอเมื่อต้องเจอกับวิกฤต
7. ในการทำงานระยะยาวทฤษฎีจะถูกเลือกโดยการสังเกตสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์อธิบายได้ อธิบายการสังเกตได้ดีอย่างไร และใช้ทำนายได้ถูกต้องอย่างไร
8. ความคิดใหม่ของนักวิทยาศาสตร์มีบริบทที่จำกัดซึ่งพวกเขาได้คิดขึ้น แต่ก็ถูกปฏิเสธด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ บางครั้งก็มีสาเหตุมาจากการไม่คาดหวังในการค้นพบ และทำได้ช้า ต้องได้รับการสนับสนุนจากการสืบเสาะหลายๆทาง
9. สัญชาติ เพศ อายุ ถิ่นกำเนิด การถูกลงโทษทางการเมืองของนักวิทยาศาสตร์ และอื่นๆ อาจทำให้มีความโอนเอียงในการแปลเหตุการณ์ต่างๆ
10.เพื่อให้เป็นประโยชน์ สมมติฐานควรเป็นสิ่งที่สนับสนุนและขัดแย้ง สมมติฐานไม่มีในหลักการ สามารถทดสอบได้หากสนใจ แต่อาจไม่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
11. เหตุผลที่ลำเอียงในการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่าง วิธีการ และอุปกรณ์ไม่สมบูรณ์ นักวิทยาศาสตร์ต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ที่เกิดการเอนเอียงข้อมูล และมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างไร
12. เพื่อหลีกเลี่ยงการสังเกตที่เอนเอียง การศึกษาทางวิทยาศาสตร์บางครั้งใช้การสังเกตซึ่งจะไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุผลในการตั้งข้อสมมติ

The Scientific Enterprise
เมื่อจบ เกรด 12 แล้วนักเรียนควรจะรู้
วัฒนธรรมของชาวอียิบ กรีก จีน ฮินดู และอารบิก ในสมัยก่อน ได้ตอบสนองความคิดทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์หลายอย่าง และเทคโนโลยีในการประดิษฐ์คิดค้น วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรม ของยุโรบเมื่อ 500 ปีที่ผ่านมา ประชาชนจากหลายๆวัฒนธรรมได้สนับสนุนประเพณีนั้น
วัฒนธรรมของชาวอียิบ กรีก จีน ฮินดู และอารบิก ในสมัยก่อน ได้ตอบสนองความคิดทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์หลายอย่าง และเทคโนโลยีในการประดิษฐ์คิดค้น วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรม ของยุโรบเมื่อ 500 ปีที่ผ่านมา ประชาชนจากหลายๆวัฒนธรรมได้สนับสนุนประเพณีนั้น
3. วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ และได้พัฒนาเทคโนโลยีขึ้น
4. วิทยาศาสตร์ฝึกการเรียนรู้แตกต่างจากการเรียนรู้แบบอื่น การใช้เทคนิค การได้พยายามค้นคว้า แต่แบ่งจุดประสงค์และปรัชญา และทั้งหมดคือส่วนของนักวิทยาศาสตร์ที่คล้ายกัน ถึงแม้ว่าการฝึกนี้เป็นโครงสร้างขององค์กร และความรู้ ปัญหาหลายๆอย่างเรียนรู้โดยนักวิทยาศาสตร์ ใช้ข้อมูลและทักษะจากการฝึกฝนหลายๆอย่าง ซึ่งอาจไม่ได้แก้ไขอะไร และอาจมีวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ การฝึกนี้อาจออกไปพบอะไรที่ข้างนอกและกลายเป็นการฝึกใหม่ที่ถูกต้อง
5. ปัจจุบันจรรยาบรรณในวิทยาศาสตร์รวมถึงหัวข้อที่วิจัยเกี่ยวกับมนุษย์ซึ่งต้องเป็นหัวข้อที่ได้รับการอนุญาต ถึงแม้จะจำกัดในศักยภาพความสำคัญของการวิจัยและอิทธิพลของผลที่เกิดขึ้น
6. การวิจัยที่มีความเสี่ยงในสังคม นักวิทยาศาสตร์ต้องตัดสินใจที่จะวิจัยบนพื้นฐานทางจริยธรรมของนักวิทยาศาสตร์
7.นักวิทยาศาสตร์สามารถนำมาข้อมูลข่าวสาร, การเข้าใจอย่างลึกซึ้ง, และความชำนาญเกี่ยวกับการวิเคราะห์ซึ่งเกี่ยข้องกับสาธาณะ ทำด้วยความชำนาญ, นักวิทยาศาสตร์สามารถช่วยผู้คนเข้าใจพอกเหตุการณ์ และคะเนผลกระทบเป็นไปได้ของเขาทั้งหลาย
8. นอกจากความเชี่ยวชาญแล้ว นักวิทยาศาสตร์ควรมีความสุข ไม่มีความน่าเชื่อถือเป็นพิเศษ
9. ที่ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เป็นที่ยอมยอมรับส่วนบุคคล, สถาบัน, หรือสิ่งที่น่าสนใจที่จะได้, เขา หรือเธออาจจะมีอคติเป็นอื่นๆ
10 .ธรรมเนียมของวิทยาศาสตร์, รวมถึงคำมั่นสัญญาให้ตำแหน่งเท่ากัน และการประกาศใช้สำหรับนักวิทยาศาสตร์ที่ดีภายในพฤติกรรมเชี่ยวชาญเกี่ยวกับหลักจริยธรรม การหลอกลวงถูกเปิดเผยพอ หรือต่อมาโดยวิทยาศาสตร์เอง เมื่อการละเมิดของธรรมเนียมเกี่ยวกับหลักจริยธรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ถูกค้นพบ, เขาที่ถูกตำหนิอย่างแรงโดยชมรมวิทยาศาสตร์, และผู้ละเมิดจะประสบปัญหากับการเอาใจใส่ของนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ
11. การเงินทุนมีอิทธิพลในวิทยาศาสตร์เพราะการตัดสินใจในการค้นคว้าวิจัยเพื่อจะสนับสนุน การค้นคว้าวิจัยที่เงินทุนมาจากบริษัทตัวแทนรัฐบาลสหพันธ์ต่างๆ, อุตสาหกรรม, และมูลนิธิส่วนตัว
12. นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถนำมาตอบรับเหตุการณ์ของการถกเถียงสาธารณะบ่อยๆ อาจจะมี ข้อมูลเชื่อถือได้เล็กน้อยที่มีอาจจะยังไม่มีทฤษฎีเหมาะสมที่จะเข้าใจปรากฎการณ์ หรือคำตอบอาจจะรวมถึงการเปรียบเทียบการโกหกภายนอกของวิทยาศาสตร์
13. เพราะว่าวิทยาศาสตร์คือกิจกรรมเกี่ยวกับมนุษย์, สิ่งซึ่งประเมินค่าไว้สูงในอิทธิพลสังคมก็จะประเมินค่าไว้สูงในวิทยาศาสตร์...
14. ทิศทางของการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ถูกกระทบโดยอิทธิพลไม่เป็นทางการภายในวัฒนธรรมของวิทยาศาสตร์เองเช่นเดียวกันกับความคิดเห็นที่เหนือกว่าซึ่งคำถามส่วนมากน่าสนใจ หรือวิธีของการไต่สวนพอสมควรมีผลมาก กระบวนการซับซ้อนรวมถึงตัวเองนักวิทยาศาสตร์ถูกพัฒนาการเสนอการค้นคว้าวิจัยโดยรับเงินทุน, และคณะกรรมการของนักวิทยาศาสตร์แนะนำความก้าวหน้าในวินัยต่างๆที่จะมีสิทธิก่อนสำหรับการรับเงินทุน
15. การกระจัดกระจายของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างรุนแรงในความก้าวหน้า ของวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งแสดงการค้นพบของเขาทั้งหลาย และทฤษฎีในกระดาษถูกส่งให้ที่การชุมนุม หรือจัดทำในวารสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ กระดาษเหล่านั้นทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถที่จะแจ้งบอกเกี่ยวกับงานของเขาทั้งหลาย, เพื่อเปิดเผยแนวความคิดของเขาทั้งหลายถูกวิจารณ์โดยนักวิทยาศาสตร์อื่นๆและแน่นอน, เพื่อเป็นแนวเดียวกันของการพัฒนาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์รอบๆโลก

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่ได้จากการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ซึ่งความรู้ต่างๆ เหล่านี้มีอยู่อย่างมากมาย ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้แบ่งออกอย่างกว้างๆ เป็น 2 ประเภท ตามจุดประสงค์ของการแสวงหาความรู้ คือ
1) วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Science) หรือวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science) คือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่บรรยายถึงความเป็นไปของปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ อันประกอบไปด้วย ข้อเท็จจริง หลักการ ทฤษฏี กฎ และสูตรต่างๆ เป็นความรู้พื้นฐานของนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้มาเพื่อสนองความต้องการอยากรู้อยากเห็น โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของการค้นหา สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 3 แขนง คือ
(1) วิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science) คือ วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542) รวมถึงอุตุนิยมวิทยา และธรณีวิทยา เป็นต้น
(2) วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Biological Science) คือ วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542) จุลชีววิทยา เป็นต้น
(3) วิทยาศาสตร์สังคม (Social Science) เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาหาความรู้ เพื่อจัดระบบให้มนุษย์มีการดำรงชีวิตอยู่ด้วยกัน อย่างมีแบบแผน เพื่อความสงบสุขของสังคม ประกอบด้วย วิชาจิตวิทยา วิชาการศึกษา วิชารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
2) วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คือ วิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องราวต่างๆที่มุ่งประโยชน์ในทางปฏิบัติยิ่งกว่าทฤษฏี เช่นแพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542)
วิทยาศาสตร์ประยุกต์เป็นวิทยาศาสตร์ที่นำเอาความรู้จากวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ มาประยุกต์เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมสนองความต้องการของมนุษย์ในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม ทำให้เกิดสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สาขาใหม่ เช่น แพทย์ศาสตร์ สัตวแพทย์ศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วิศวกรรม และโภชนาการ เป็นต้น ร่างกายมนุษย์ และ การบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์หลายๆแขนงมาประยุกต์รวมกันเพื่อประโยชน์ทางด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น โดยสรุป คือ วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เป็นความรู้ในเรื่องต่างๆ ซึ่งมักเป็นสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ที่มีลักษณะเป็นทฤษฏี หลักการ กฎ หรือสูตรต่างๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา เป็นต้น ส่วนวิทยาศาสตร์ประยุกต์เป็นการใช้ความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์ โดยเน้นในทางปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี และมักเป็นสาขาวิชาเฉพาะทาง เช่น แพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Type of Scientific Knowledge) ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ได้ถูกจัดแบ่งออกเป็นลำดับขั้นไว้ 6 ประเภท คือ ข้อเท็จจริง มโนมติ หลักการ สมมติฐาน กฎ และทฤษฎี
1) ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Fact) ข้อเท็จจริง เป็นความรู้พื้นฐานเบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์ ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติและสิ่งต่างๆโดยตรง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย หรือจากการตรวจวัดโดยวิธีการอย่างง่ายๆ โดยผลที่ได้จากการสังเกตและการวัดต้องเหมือนเดิมไม่ว่าจะกระทำกี่ครั้งก็ตาม และเป็นข้อมูลที่เป็นจริงเสมอไม่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา
2) มโนมติ (Concept) คำว่ามโนมตินั้น บางคนใช้คำว่า ความคิดรวบยอด มโนทัศน์ มโนภาพ หรือสังกัป ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน มโนมติ หมายถึง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งแต่ละคนจะมีมโนมติเกี่ยวกับวัตถุหรือปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแตกต่างกัน การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดสังเกตวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่างๆ และเกิดการรับรู้ บุคคลนั้นจะนำการรับรู้นี้มาสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมของเขา ทำให้เกิดมโนมติซึ่งเป็นความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุหรือปรากฏการณ์นั้นและทำให้เขามีความรู้ขึ้น (ภพ เลาหไพบูลย์ , 2540 : 3)
3) หลักการ (Principle) หลักการ จัดเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประเภทหนึ่งที่เป็นความจริงสามารถทดสอบได้ และได้ผลเหมือนเดิม เป็นที่เข้าใจตรงกันไม่ว่าจะทดสอบกี่ครั้ง เป็นหลักที่ใช้ในการอ้างอิงได้ ด้วยเหตุนี้หลักการมีลักษณะแตกต่างจากมโนมติตรงที่หลักการเป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าใจตรงกัน สามารถใช้อ้างอิงได้ แต่มโนมติเกี่ยวกับสิ่งเดียวกันของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นกับประสบการณ์ของแต่ละบุคคล (สุโขทัยธรรมาธิราช, 2541 : 26) หลักการอาจผสมผสานจากมโนมติ ตั้งแต่ 2 มโนมติที่สัมพันธ์กันเข้าด้วยกัน
4) สมมติฐาน (Hypothesis) สมมติฐาน คือ ข้อคิดเห็นหรือถ้อยแถลงที่เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542) สมมติฐานจัดเป็นการลงความคิดเห็นประเภทหนึ่ง เป็นข้อความที่คาดคะเนคำตอบของปัญหาล่วงหน้า ก่อนจะดำเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องเป็นจริงของเรื่องนั้นๆ ต่อไป สมมติฐานอาจเป็นข้อความหรือแนวความคิด ที่แสดงการคาดคะเนในสิ่งที่ไม่สามารถตรวจสอบได้โดยการสังเกตโดยตรง หรือเป็นสิ่งที่แสดงความสัมพันธ์ที่เชื่อว่าจะเกิดขึ้น ระหว่างตัวแปรที่เป็นเหตุ (ตัวแปรอิสระ) และตัวแปรที่เป็นผล (ตัวแปรตาม) (เพียร ซ้ายขวัญ, 2536:17-19)
5) กฎ (Law) กฎ เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ประเภทหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับหลักการ คือ ต้องได้รับการพิสูจน์แล้วว่าถูกต้อง ทดสอบแล้วได้ผลตรงกันทุกครั้ง มีลักษณะที่เป็นจริงเสมอ แต่กฎเป็นหลักการที่มักจะเน้นในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล ซึ่งอาจเขียนสมการแทนได้ เช่น กฏของบอยล์ ซึ่งกล่าวว่า “ถ้าอุณหภูมิคงที่ ปริมาตรของแก๊สจะเป็นปฏิภาคผกผันกับความดัน” อยู่ในรูปสมการ คือ (ถ้า T คงที่) กฎมักจะเป็นหลักการหรือข้อความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการพิสูจน์มาเป็นเวลายาวนานในระดับหนึ่ง จนมีหลักฐานสนับสนุนมากเพียงพอ ไม่มีหลักฐานอื่นที่คัดค้าน จนกระทั่งข้อความนั้นเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้องสมบูรณ์ ข้อความนั้นก็จะเปลี่ยนจากหลักการหรือทฤษฎี กลายเป็นกฎ
6) ทฤษฏี (Theories) ทฤษฎี คือ ความเห็น ลักษณะที่คิด คาดเอาตามหลักวิชาการเพื่อเสริมเหตุผล และรากฐานให้แก่ปรากฏการณ์หรือข้อมูลในภาคปฏิบัติ ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างมีระเบียบ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542) ทฤษฎี เป็นความรู้วิทยาศาสตร์ประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นข้อความที่ใช้ในการอธิบายข้อเท็จจริง หลักการ และกฎต่างๆ หรือกล่าวได้ว่า ทฤษฏีเป็นข้อความที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์ทั้งหลาย (สุโขทัยธรรมาธิราช, 2541 : 30)
ความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎีกับกฎ กฎนั้นอธิบายโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลเป็นหลัก คือบอกได้แต่เพียงว่าผลที่ปรากฏให้เห็นนี้มีสาเหตุอะไร หรือเหตุกับผลสัมพันธ์กันอย่างไร แต่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ส่วนทฤษฎีนั้นสามารถอธิบายความสัมพันธ์ในกฎได้ เช่น “ถ้าเอาขั้วแม่เหล็กที่เหมือนกันมาวางใกล้กันมันจะผลักกันแต่ถ้าขั้วต่างกันมันจะดูดกัน” นี่คือความสัมพันธ์ที่อยู่ในรูปของกฎ ถ้าจะถามว่าทำไมขั้วแม่เหล็กเหมือนกันจึงผลักกัน การอธิบายความสัมพันธ์นี้ต้องใช้ทฤษฏีโมเลกุลแม่เหล็กมาอธิบายจึงจะเข้าใจ (เพียร ซ้ายขวัญ, 2536 : 15)

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พรบ.การศึกษา หมวด 4 แนวจัดการศึกษา

สรุป พรบ.การศึกษา หมวด ๔แนวการจัดการศึกษา
มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยืดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
( ๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(๔) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(๕) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคลอ้งกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบกรณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(๔) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
(๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษาให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและให้นำผลการประเมินผู้เรียนมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ต้องมุ่งหมายพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา ยังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการวิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคม
มาตรา ๒๙ ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพสถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

สรุป
พรบ.ส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ตัวตัวเอง จัดการศึกษาตามอัธยาศัย จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับผู้เรียน นักเรียนสามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ไขปัญหา ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงมีการวิจัยในกระบวนการเรียนรู้ มีความรู้คู่คุณธรรมปลูกฝังค่านิยมที่ดีงาม โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายซึ่งชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้และส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ได้

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

constructivism theory

ทฤษฎี constructivism จะอ้างถึง Jean Piaget ได้บอกว่าความรู้เกิดจากภายในตัวของผู้เรียนเขาแนะว่าการทำให้เหมาะสมและการทำให้คล้ายกันของแต่ละบุคคลในการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากประสบการณ์ของผู้เรียน เมื่อแต่ละคนมีความคล้ายกันก็จะรวมประสบการณ์ใหม่ไว้ในกรอบเดียวกันโดยไม่เปลี่ยนแปลง อาจเกิดขึ้นเมื่อประสบการณ์ของแต่ละคนตรงเข้าไปภายใน แต่จะเกิดความล้มเหลวที่จะเปลี่ยนความเข้าใจที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจจะไม่สังเกตเห็นเหตุการณ์หนึ่ง อาจเข้าใจผิดในสิ่งอื่นๆ หรืออาจตัดสินใจว่าเหตุการณ์นั้นมันเป็นไปโดยบังเอิญ ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้จึงไม่สำคัญ ตรงกันข้ามเมื่อประสบการณ์ของแต่ละคนขัดแย้งกันภายใน ตามทฤษฎีความเหมาะสมคือ กระบวนการทำซ้ำภายในใจของคน ที่แสดงออกมาภายนอกให้เหมาะสมกับประสบการณ์ใหม่ ความเหมาะสมนี้ทำให้เข้าใจกลไกความล้มเหลวนำไปสู่การเรียนรู้ เมื่อเราคาดหวังเพียงอย่างเดียวความคาดหวังจะถูกทำลายเราจะล้มเหลวบ่อยๆ สิ่งนี้จะเป็นประสบการณ์ใหม่และจทำซ้ำๆจนเป็นรูปแบบของเรา เราเรียนรู้จากประสบการณ์ความล้มเหลวหรือจากความล้มเหลวในสิ่งอื่น
มันสำคัญมากที่จะบอกว่าทฤษฎี constructivism ไม่ได้ใช้เฉพาะวิชาครู แต่เป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร ผู้เรียนอาจใช้ประสบการณ์ของเขาเพื่อที่จะเข้าใจการบรรยายโครงสร้างของอาคารหรือแบบจำลองของเครื่องบินในทั้งสองกรณี ทฤษฎี constructivism แสดงให้เห็นว่าการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนเกิดจากประสบการณ์ อย่างไรก็ตามทฤษฎีนี้ก็ถูกนำไปรวมกับวิชาครูเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้โดยการปฏิบัติด้วยตัวเอง
นายสันติ จั่นผ่อง
ปวท.2 วิทยาศาสตร์ศึกษา